มุมสะสม-พระเครื่องหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

ภาพใบอนุโมทนาบัตร ใบสุดท้ายที่ผมได้รับจากหลวงพ่อก่อนที่ท่านจะละขันธ์ เข้าสู่พระนิพพานในวันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
--------------------------------------
   ด้วยความรักและเคารพ ในองค์ครูบาอาจารย์ ..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง) ผมเลยพยายามเสาะหาเก็บสะสมพระเครื่องที่หลวงพ่อท่านได้สร้างไว้ให้..เก็บไปเรื่อยๆครับ..ตายเมื่อไหร่ก็มอบให้เป็นสมบัติของลูกหลานรุ่นต่อไป...ใบโมทนาบัตรนี้ผมถือเป็นวัตถุมงคลสำคัญสำหรับตัวผมที่เห็นทีไรใจเกิดสุขและดีใจที่ได้เกิดมาทันได้ทำบุญกับหลวงพ่อ..จริงๆแล้วมีหลายใบ แต่ใบนี้เป็นใบสุดท้ายเพราะอีก ๙ วันต่อมาหลวงพ่อท่านละขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน
-------------------------------------
ภาพพระเครื่อง และวัตถุมงคล
---------------------------------
รูปหล่อลอยองค์...สมเด็จองค์ปฐม (รุ่น๒) วัดท่าซุง
   หลังพุทธาภิเษกหลวงพ่อท่านเล่าว่า สมเด็จองค์ปฐมท่านลงมาพุทธาภิเษก พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ลงมาหมดทั้งพระนิพพาน พรหม เทวดามาหมด ถึงเวลาพุทธาภิเษกด้านลาภ พระพุทธเจ้าด้านลาภมากที่สุดคือพระพุทธกัสสป พระพุทธทีปังกรท่านมาด้านหน้า ท่านเปรียบเทียบให้ฟังว่าพระสีวลีพระอรหันต์ที่มีลาภมากยังไปไกลมากมองไม่เห็น และรุกขเทวดาที่อยู่ในวัดตามต้นไม้ออกไปไกลมากเลยตลาดอุทัยธานีไปอีก วัดตามกำลังบารมีและความสว่าง หมายถึงท่านใดมีลาภมากก็จะอยู่ด้านหน้า ซึ่งวัดกับตลาดอุทัยห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตร ตอนพุทธาภิเษกอยู่ๆไฟฟ้าในวิหารร้อยเมตรก็เกิดไฟดับชั่วอึดใจ หลวงพ่อท่านพูดว่าช่วงนั้นกำลังปลุกเสก ท่องคาถาเรื่องการพลางตัวให้ศัตรูมองไม่เห็น
 
ภาพใต้ฐานองค์พระ



รูปหล่อลอยองค์สมเด็จองค์ปฐม (องค์ที่๒)


หลวงพ่อสร้าง กรกฎาคม ๒๕๓๕
...ผู้มีองค์ปฐมไว้ครอบครองไม่ว่ามนุษย์ก็ดี อมนุษย์ก็ดี สัตว์ร้ายต่างๆ ภูตผีปีศาจร้าย ถ้าคิดจะทำร้ายเราจะรุ่มร้อนจนทนไม่ได้ต้องล่าถอยไปในที่สุด ตามคำที่หลวงพ่อท่านเคยปรารปไว้...
 
สมเด็จองค์ปฐมรุ่นนี้สร้างเพียง ๑ หมื่นองค์เศษเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับลูกหลานหลวงพ่อที่มีจำนวนมากแล้วถือว่าจำนวนพระที่สร้างเท่านี้น้อยมาก


สมเด็จองค์ปฐมรุ่น๒ ต่างจากรุ่นแรกเพียงแค่ไม่มีกริ่งเท่านั้น


***ข้อคิดส่วนตัว ...พิธีพุทธาภิเษกใดที่สมเด็จองค์ปฐมเสด็จเป็นประธานในพิธีพุทธาพิเษก..นั่นหมายถึงพระเครื่องตลอดถึงวัตถุมงคลต่างๆในพิธีนั้นได้รับพรจาก องค์สมเด็จพระสัมสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทั้งหมด ตลอดทั้งเทวดาและพรหมทั้งหลาย เพราะเวลาที่สมเด็จองค์ปฐมท่านเสด็จลงมา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ก็เสด็จตามลงมาด้วย...พุทธานุภาพแห่งองค์พระเครื่องนั้นย่อมมากมายมหาศาลประมาณไม่ได้***

-------------------------------------------------

 รูปหล่อลอยองค์สมเด็จองค์ปฐม (องค์ที่๓)







-----------------------------------------------------------------------------
พระคำข้าว (รุ่นแรก)

 พระคำข้าวเป็นพระที่ทำได้ยากต้องเสกข้าวที่มีรสอร่อยถึง ๓ เดือนแล้วจึงมาปลุกเสกใหญ่อีกครั้ง ด้วยบารมีพระสมเด็จองค์ปฐมท่านเป็นประธานแสงสีทองหนาทึบมองไม่เห็นพระ ตามที่หลวงพ่อท่านเล่าให้ฟัง...ลาภจะมากมายมหาศาลหาวัตถุมงคลไหนๆเทียบยาก...พระองค์ขาวๆเรียกว่าพระคำข้าว มีลาภมาก..ทำได้ยากทำเหมือนพระสมเด็จโต..หลวงพ่อท่านกำชับไว้ก่อนท่านจะละขันธ์



สมัยนั้นลูกศิษย์ที่ได้ยินหลวงพ่อท่านพูดไว้มาก จะนิยมเก็บพระคำข้าวกันถือว่าเป็นพระอนาคต คนที่เป็นลูกหลานหลวงพ่อจะทราบดีว่าหลวงพ่อท่านพูดไว้แบบไหนและราคาจะแพงมากอย่างไร หลวงพ่อท่านบอกว่า..หลังจากอาตมาตายพระจะแพง..องค์เป็นแสน..
 

พระที่ท่านทำเพื่อป้องกันภัยพิบัติในอนาคตให้พรมากมายช่วงพุทธาภิเษกตามที่หลวงพ่อบอกลูกหลานไว้ ครอบคลุมถึงเรื่องป้องกันอันตรายจากรังสีต่างๆ..นิวเคลียร์ด้วย



สร้างทั้งหมดหนึ่งแสนองค์  
องค์ที่๓ จะสังเกตุเห็นเส้นเกศาหลวงพ่อปรากฎอยู่หลายจุด


องค์ที่๔ องค์นี้ผงแป้งหนาแตกลายสวยงาม สังเกตุมีจุดที่ข้อพระหัตถ์ซ้าย แต่บัวมีจุดหลายจุด จำเป็นต้องดูที่ความหนาบางและด้านหลังองค์พระต้องไม่มีเนื้อเกิน



องค์ที่๕

------------------------- 

พระคำข้าว รุ่นที่๒



*** พระคำข้าวแต่ละองค์จะมีเทวดารักษาอยู่ ๑ องค์ หลวงพ่อเมตตาสร้างพระคำข้าวรุ่นที่๒นี้ไว้ให้ลูกหลานท่านเป็นจำนวนถึง ๕ ล้านองค์ครับ...หลวงพ่อท่านกำชับไว้ว่าพระองค์ขาวๆนี้เรียกพระคำข้าวให้เก็บไว้ให้ดีเก็บไว้ยิ่งเยอะยิ่งดี ***

    ที่บ้านสายลม ท่านอาจารย์ยกทรงกราบเรียนถามหลวงพ่อฯ.. ในลักษณะว่า.."พระคำข้าว รุ่นแรก กับ รุ่นหลัง อานุภาพต่างกันอย่างไรครับ"
    หลวงพ่อฯ.. ตอบในทำนองว่า.." ก็เหมือนกันนะลูก พุทธานุภาพ เหมือนกันเป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าท่านทำ..แต่รุ่นหลังนี่หนักหน่อย.."




ภาพใบวิธีบูชาพระคำข้าวและพระหางหมากนี้ผมได้จากวัดท่าซุงเมื่อปี ๒๕๓๓